15/5/57

ICHI vs SAWAD ความต่างที่เหมือนกัน

เร็วๆนี้ เพิ่งจะมีหุ้น IPO น้องใหม่ 2 ตัวเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นั่นก็คือ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI และ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD

เห็น 2 ตัวนี้แล้ว รู้สึกว่าหุ้น 2 ตัวนี้แม้จะอยู่ในต่างธุรกิจกันอย่างสิ้นเชิง ICHI จำหน่ายเครื่องดื่ม ส่วน SAWAD ให้บริการสินเชื่อ แต่ทำไมรู้สึกว่าเส้นทางการเดินของหุ้น 2 ตัวนี้ช่างละม้ายคล้ายคลึงกันนัก

ขอเริ่มนับความเหมือนระหว่าง ICHI และ SAWAD ตามความเห็นส่วนตัวของเรา
  • เป็นหุ้น IPO ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปีเดียวกัน คือ ปี 2557
  • เป็นหุ้น IPO ที่มีที่ปรึกษาทางการเงินรายเดียวกัน คือ เอเชีย พลัส (ASP)
  • เป็นหุ้นที่จัดได้ว่าเป็นหุ้นที่ได้รับนิยม และร้อนแรงเป็นอย่างสูง ดูได้จาก Volume trade แซงหน้าหุ้น Top market cap กระจาย อย่างเช่นวันนึง Volume trade ของแต่ละตัว represent ประมาณ 10% ของตลาดรวมเลยทีเดียว

  •  เป็นหุ้น IPO ที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก 2 อันดับแรกในปีนี้ 
 
  • ทั้ง 2 บริษัทก่อนหน้าเคยดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันอยู่เดิมแล้วและมีการขายกิจการเดิมออกไป อย่าง ICHI นั้นเราก็ทราบดีว่าคุณตัน เคยเป็นเจ้าของบริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI มาก่อนก่อนที่จะมีการขายธุรกิจให้บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรส จำกัด (มหาชน) ในปี 2551 มูลค่ากว่า 3000 ล้านบาท ส่วนก่อนที่จะมาเป็น SAWAD นั้นทางกลุ่มของครอบครัวแก้วบุตตา เคยเป็นเจ้าของ บริษัท ศรีสวัสดิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (1991) มาก่อนที่จะขายธุรกิจนี้ให้กับ AIG ในปี 2550 ซึ่งในภายหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้เข้ามาซื้อกิจการต่ออีกทีนึงและพัฒนาแบรนด์จนเป็นที่รู้จักกันในนาม ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ
  • ทั้ง 2 บริษัท ภายหลังจากการขายหุ้นของบริษัทเดิมไปแล้ว ในภายหลังเจ้าของก็กลับมาทำธุรกิจประเภทเดิมแข่งขันกับผู้ที่มาซื้อกิจการเดิมของตนเองไป อย่าง ICHI คุณตันก็กลับมาทำเครื่องดื่มชาเขียวใหม่ในแบรนด์ อิชิตัน (Ichitan) ในปี 2553 ส่วน SAWAD ก็กลับมาทำ ศรีสวัสดิ์ มีบ้าน มีรถ เงินสดทันใจ ในปี 2551
  • ทั้ง ICHI และ SAWAD ที่เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่ กลับมา market share/market cap แซงหน้าบริษัทเดิมที่ขายไป 
  
นึกไม่ออกหละว่าเหมือนกันตรงไหนอีก >< 
 
คิดไปคิดมา ความสำเร็จของธุรกิจใดๆ ดูเหมือนจะขึ้นกับผู้บริหาร มากกว่า แบรนด์ เป็นหลักหรือเปล่าจากสองเคสนี้ ....นี่อาจจะไม่ใช่บทสรุปของสูตรสำเร็จ แต่ก็เป็น lesson learnt ที่ดีของการศึกษา model ธุรกิจ :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น