- เริ่มจากกรณีซีเรีย ที่ดูเหมือน US RUSSIA และ SYRIA เองจะตกลงกันได้ ก็คือไป declare chemical weapons ต่อ UN ประเด็นความน่าห่วงเรื่องว่าจะเกิดสงครามความวุ่นวายก็ลดน้อยลง
- เกมเปลี่ยนจุดแรก คือ การที่ Lawrence Summers ถอนตัวจาก candidate ในการได้รับเลือกตั้งเป็น FED chairman แทน Bernanke อย่างที่เรารู้กันว่าในภาวะที่โลกเสพติด QE ตลาดหุ้นก็คงจะไม่ชอบเท่าไรที่จะได้ประธาน FED ที่ Hawkish อย่าง Summers เข้ามาแทน รวมถึงการที่เสียงใน FOMC ค่อนข้างแตก ความตรงและค่อนข้าง Aggressive ของ Summers คงไม่ค่อยเป็นผลดีเท่าไรต่อ FOMC สุดท้ายการที่ Summers ที่เป็น candidate สุดโปรดของ Obama ยอมถอนตัวไปก็ทำให้เรื่องง่ายขึ้น และทำให้ตลาดหุ้นตอนรับข่าวอย่างที่เห็นกัน (แอบคิดในใจ ถ้าเราเป็น Summers จะดีใจมั้ยนิที่ทำให้หุ้นขึ้นได้ทั่วโลกขณะนี้ 55)
- ตอนนี้ Front runner ที่จะเป็น the first FED chairwoman ก็คือ Janet Yallen ซึ่งนางมีชื่อเสียงอย่างดีในด้าน accommodative policy และเห็นด้วยกับการมี QE สุดฤทธิ์ รวมถึงคัดค้านการ Tapering off รวมถึงอุปนิสัยที่ค่อนข้างเป็นคน compromise แถมด้วยอยู่ใน FOMC มานานน่าจะทำให้ FOMC member เสียงไปในทิศทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น ทำให้ตลาดตอบรับเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี Yallen กับ Obama ดูห่างเหิน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำงานร่วมกันจะลงเอยกันอย่างไร นอกจากนี้ก็มีกระแสว่า Yallen ค่อนข้างจะ behind the curve ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกะเศรษฐกิจสหรัฐรวมถึงระบบธนาคารที่ขณะนี้ต้องการการ Reform เป็นอย่างมาก คล้ายๆว่าระยะสั้นอาจจะดีด้วย QE แต่ consequense ที่ตามมาอาจจะเป็นปัญหาที่หนักหน่วงในภายหลัง อันนี้ก็นานาทรรศนะ ว่ากันไป
- อีกหนึ่ง candidate ผู้ท้าชิงตำแหน่งกับ Yallen ก็คงจะเป็น Donald Kohn ก็ต้องติดตามดูกันว่าจะมาเป็นม้ามืดแย่งตำแหน่งไปจาก Yallen ในโค้งสุดท้ายได้หรือไม่
- สุดท้ายที่ surprise ตลาดสุดๆก็คงจะเป็นว่า FED no taper ตอนแรกตลาดคาดการณ์กันว่าตลาดจะเริ่ม tapering ในเดือนก.ย. ช่วงแรกๆที่ตลาดกลับมาปรับตัวขึ้น เนื่องจากตลาดดีใจที่ว่า FED อาจจะ taper น้อยกว่าคาด คือ ลดลงแค่ 10-15 พันล้านจากวงเงินที่ทำทั้งหมด 85 พันล้านต่อเดือน ปรากฏว่า FED ไม่ลดวงเงินอัดฉีดลงเลย ซึ่งตลาดกลัวการ Tapering มาตลอดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ผลพวงก็กระทบไปทั่วโลกทั้งตลาด Bond ตลาดหุ้น ค่าเงิน โดยเฉพาะอย่างประเทศ Emerging countries อย่างไทยๆเรา พอ FED ยังยืนยันฉีดยาต่อเท่านั้นแหละ เขียวกระจาย
- จาก FED statement ก็กลายเป็นว่า FOMC จะรอดูตัวเลขทางเศรษฐกิจเพื่อให้แน่ใจจริงๆว่าฟื้น ก่อนจะเริ่ม Tapering
The Committee is maintaining its existing policy of reinvesting principal payments from its holdings of agency debt and agency mortgage-backed securities in agency mortgage-backed securities and of rolling over maturing Treasury securities at auction.
These actions should maintain downward pressure on longer-term interest rates, support mortgage markets, and help to make broader financial conditions more accommodative.
The Committee is prepared to increase or reduce the pace of its purchases to maintain appropriate policy accommodation as the outlook for the labor market or inflation changes
- ประชุม FOMC ครั้งต่อไป คือ 29-30 ต.ค. และ 17-18 ธันวาคม ส่วน Bernanke เองจะหมดวาระในสิ้นเดือนม.ค.ปีหน้า ก็ต้องดูกันว่าจะยังคงเริ่ม Tapering ในปีนี้หรือไม่
- เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นจริง? เลยไม่กล้าถอนยาแรง กลัวช็อค ไอ้ที่ว่ากำลังจะฟื้นก็จะไม่ฟื้นตามคาดอะไรแบบนี้
- ไหนๆ Bernanke เองผู้กอบกู้โลกให้ asset appreciated ขึ้นมาตลาดจากการปั๊มเงินก็ใกล้จะลงจากตำแหน่งแล้ว ก็ควรจะจบแบบสวยๆ เริ่ม QE program แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ the next FED chairman เป็นคนหาทางจบ?
- มีความเป็นไปได้สูงว่าที่ Yallen จะขึ้นมาแทน Bernanke ซึ่งนางชอบ QE เพื่อไม่ให้นโยบายของ FED ดูสับสนไปมา เดี๋ยวลดวงเงิน เดี๋ยวเพิ่มวงเงิน การนิ่งๆอยู่เฉยๆรอดูอาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่าเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนทางนโยบายการเงิน
สังเกตได้ว่า TIPs น่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากเหตุการณ์ข้างต้น (ถ้าคิดไม่ออกว่าทำไม ให้คิดถึงตอนเหตุการณ์ตอนต้นปีนี้จนถึงช่วงราวๆมี.ค.) จะว่าไป TIPs ก็โดน punished ไปมากตลาดเมกา ยุโรปนี่ new high กันไปแล้ว ประเทศแถบนี้ยังอีกห่างไกลเป้าหมายนัก
มาดูยอด fund flows บ้าง ฝรั่งเค้ากลับตัวไวจริง ตามฝรั่งไว้ไม่น่าผิดหวังมั้ง เราว่าสูตรนับ 3 รอบนี้ใช้ได้ดีทีเดียว ^^
อ่านมาตั้งนาน คงอยากรู้ว่า SET จะไปได้ถึงไหน ...คนเขียนก็ไม่รู้เหมือนกัน ไม่กล้าจินตนาการว่าเงินที่ออกไปแสนล้านจะกลับเข้ามาเท่าไรในตลาดหุ้นจากฝรั่ง FED ไม่ได้บอกว่าจะไม่ทำ QE tapering เพียงแต่จะทำในเวลาที่เหมาะสม เมื่อตัวเลขศก.เป็นใจ หากเมื่อไรเรื่องนี้กลับมาอีกที เราก็คงเจอผลกระทบกันอีกรอบนึง ตอนนี้ก็เฝ้าติดตาม US bond yield ไว้ให้ดี หาก spike มาเมื่อไร บาทเริ่มอ่อนอีกเมื่อไร ก็ให้ระวังแรงกระแทกกันอีกรอบ อันนี้จากปัจจัยภายนอกล้วน ปัจจัยภายในคงหนีไม่พ้นภาคเศรษฐกิจจริงว่าฟื้นตัวแค่ไหน โดยเฉพาะส่งออก ความคืบหน้าสองล้านๆที่อยู่ในสภา งบไตรมาส3 ที่ใกล้จะออกในอีกเดือนข้างหน้า ฟิวเจอร์ U ที่จะหมดอายุในวันที่ 27 ส.ค. และบรรดากอง trigger fund ที่ค้างติ่งอยู่จำนวนมาก หาก SET ขึ้นไปสูงๆก็อาจจะเจอแรงขายจากตรงนี้ส่วนนึง ...ลองนึกปัจจัยที่มีผลประกอบการพิจารณาลงทุนดู
ส่วนกราฟก็ตามนี้
ไม่รู้ทั้ง Summers' and Bernanke's gap จะต้องลงมาถูกปิดหรือเปล่า หรือว่าจะเป็น Breakaway gap ไปเลย โปรดติดตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น